1. เว็บไซต์ท่าขายสินค้า (Shopping Portals Site)
เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เป็นสื่อกลางหรือศูนย์กลางขายสินค้าและบริการเว็บไซต์ท่า จะมีการจัดหมวดหมู่สินค้าและบริการอย่างเป็นระเบียบ พร้อมอำนวยความสะดวกในการค้นหา และเชื่อมโยงไปยังผู้ขายรายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เปรียบได้เหมือนกับห้างสรรพสินค้าที่รวมเอาร้านค้าต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกันช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมายิ่งขึ้นมีทั้งขายสินค้าแบบหลากหลายชนิด (Comprehensive) และแบบเฉพาะ (Specialize)
2. เว็บไซต์ตัวแทนปัญญา (Shopbots and Agents Site)
เป็นเครื่องมือใช้สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบในด้านราคา หรือแม้แต่ประเภทและคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ๆ ตามแต่เงื่อนไขของผู้บริโภคที่ต้องการระบุถึงซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักจะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับเครื่องมือประเภท Search Engine ตัวอย่างเช่น www.bargain.com เป็นต้น
3. เว็บไซต์วัดความนิยมหรือเรทติ้ง (Business Ratings Sites)
เป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดความแตกต่างหรือเปรียบเทียบผู้ขายสินค้าและบริการผ่านทางเว็บไซต์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อได้ระบุความต้องการที่จะเปรียบเทียบ
4. เครื่องมือสร้างความเชื่อมั่น (Trust Verification Site)
เป็นเครื่องมือสำหรับใช้สร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจต่อผู้ขายค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบรักษาความปลดภัยบนเว็บไซต์เพื่อรับประกันว่าข้อมูลส่วนตัวและการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับอย่างปลอดภัย และจำหน่ายเครื่องมือสำหรับใช้สร้างระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น www.paypal.com เป็นต้น
5. เครื่องมืออื่น ๆ (Other tools)
เว็บไซต์หรือเครื่องมือประเภทค้นหาสินค้าและบริการทั้งที่เป็นแบบ Search Engine และ Web Directory ระบบการชำระเงิน (Payment System)ระบบรักษาความปลอดภัย (Security System) ระบบการส่งเมล์ลูกค้า (Mailing List) เป็นต้น
แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
-แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ตามแหล่งที่มาของรายได้
-ค่าบริการจากสมาชิก(Subscription)
-ค่าธรรมเนียมจากการทำรายการ(Transaction Fee -ค่าโฆษณา(Advertising) -ค่าสนับสนุนจากผู้รับผลประโยชน์(Sponsorship)
1 แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ตามคุณลักษณะของเว็บไซต์การตลาดขายตรง(Direct Marketing) คือการขายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อสินค้าโดยตรงโดยอาศัยช่องทาง เช่นผ่านอีเมลล์ แฟกส์ และโทรศัพท์ เช่นwww.sony.comและ www.dell.com,www.avon.co.th เป็นต้น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว(Pure-E-Retailing) คือการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางเว็บไซต์
2 แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
การขายปลีกแบบผสมผสาน(Mixd Retailing) หมายถึงการขายสินค้าแบบควบคู่กันไปทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะขายสินค้าผ่านเว็บไซต์และการขายผ่านหน้าร้าน
3.การวางแผนทางการตลาดสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการ โดยใช้การวางแผนทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “4P” หรือการตลาดแบบผสม (Mixing Market)ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา(Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย(Places) การส่งเสริมการตลาด(Promotion)
4.กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวเพิ่มพลังการเรียนรู้ให้แก่ลูกค้าด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยช่องทางบริการที่เป็นเลิศกลยุทธ์ด้านการเงิน กลยุทธ์ด้านการตลาด กลยุทธ์ด้านการบริการ
5.ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ความสามารถในการทำกำไร(Profitability) ตรายี้ห้อ(Branding) ประสิทธิภาพ(Performance) การออกแบบเว็บไซต์(Web site Design)